บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

การตรวจและบำรุงรักษาระบบท่อน้ำและไฟฟ้า

30
เม.ย.
2567


 

ระบบน้ำและไฟ เป็นระบบสุขาภิบาลที่สำคัญสำหรับผู้อยู่อาศัยในบ้าน ดังนั้นในการเริ่มสร้างบ้าน นอกจากจะพิจารณาเรื่องความสวยงานของแบบบ้านแล้ว ในส่วนของระบบน้ำและไฟ ก็ต้องพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับแบบบ้าน ใช้งานได้จริง และถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้ง ซึ่งเมื่อบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การดูแลบ้านให้สวยงามและแข็งแรง เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านควรหมั่นใส่ใจ เพื่อให้อายุการใช้งานของบ้านยืนยาว และไม่สร้างปัญหาเรื้อรังให้คอยแก้ไขไม่จบไม่สิ้น

วันนี้ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน มีแนวทางการตรวจและบำรุงรักษาระบบท่อน้ำและไฟฟ้าแบบง่าย ๆ มาฝากกัน

 

ท่อน้ำ เป็นส่วนที่ลำเลียงน้ำประปา ก่อนจะถูกแจกจ่ายไปยังก็อกน้ำ และอุปกรณ์ใช้น้ำในบ้าน ดังนั้นต้องได้รับการดูแลรักษาให้สภาพดีพร้อมใช้งาน เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวมีน้ำสะอาดใช้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล ซึ่งจุดที่ต้องตรวจสอบมี ดังนี้

1. ท่อประปาอายุเกิน 5 ปี ต้องตรวจการปนเปื้อนของสนิม

ท่อเหล็กอาบสังกะสีที่ใช้งานเป็นเวลานานเกินกว่า 5 ปี มีโอกาสที่จะเป็นสนิม ส่งผลให้น้ำประปามีสี มีกลิ่นสนิมปะปน ดังนั้นหากพบว่าท่อเก่าเป็นสนิมควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที

2. สำรวจท่อน้ำแตก / รั่ว

หากพบว่ามีการรั่วไหลเกิดขึ้นจะทำให้น้ำไหลทิ้งอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้สิ้นเปลืองค่าน้ำ และสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้าน อีกทั้งยังเป็นเหตุให้สิ่งสกปรกเข้าไปในเส้นท่อได้ ดังนั้นเมื่อพบว่ามีน้ำรั่วซึมในบ้าน ควรรีบหาจุดที่รั่วให้เจอ และรีบแก้ไขโดยด่วน

วิธีสังเกตท่อน้ำรั่ว

2.1. บิลค่าน้ำเพิ่มสูงขึ้นทั้งที่ไม่ได้ใช้น้ำมากกว่าปกติ

2.2. มีน้ำเปียกที่พื้นอยู่เสมอหรือมีตะไคร่น้ำขึ้น เมื่อมีจุดแตกรั่ว น้ำจะไหลหรือซึมออกมาที่พื้นอยู่เสมอ และยิ่งนานวันความชื้นก็จะทำให้เกิดตะไคร่จับได้

2.3. มีน้ำเปียกหรือหยดจากเพดานหรือผนังอยู่เสมอ เมื่อมีน้ำรั่วที่พื้นชั้นบน จะทำให้เพดานเปียกและหยดออกมาตามช่องระหว่างฝ้าได้

2.4. น้ำจากก๊อกน้ำไหลอ่อนลง เมื่อเกิดท่อประปาแตกในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดที่แตกมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งทำให้น้ำรั่วไหลออกมาก ปริมาณน้ำที่จะส่งไปถึงก๊อกน้ำก็จะน้อยลง น้ำประปาจึงไหลอ่อนลง

2.5. บ้านที่ติดตั้งปั๊มน้ำ จะพบว่าได้ยินเสียงปั๊มน้ำทำงานตลอดแม้จะไม่ได้ใช้น้ำ เพราะน้ำที่รั่วไหลออก จะทำให้น้ำในถังพักน้ำของเครื่องปั๊มน้ำน้อยลง เครื่องปั๊มน้ำจึงต้องปั๊มน้ำเข้ามาเก็บให้เต็ม เราจึงได้ยินเสียงเครื่องปั๊มน้ำทำงานถี่ขึ้น

2.6. มีจุดที่พื้นทรุดตัวต่ำกว่าบริเวณอื่น เมื่อเกิดน้ำรั่วซึมเป็นระยะเวลานาน ก็จะทำให้ดินในบริเวณโดยรอบเปียกและเกิดการอ่อนตัวจนส่งผลให้พื้นบริเวณนั้นทรุดตัวลงได้

 

3. ดูแลทำความสะอาดถังพักน้ำ / ถังเก็บน้ำ ถังพักน้ำ / ถังเก็บน้ำ

มักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำไม่ได้มาตรฐาน เจ้าของบ้านควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อให้น้ำสะอาดอยู่เสมอ ป้องกันน้ำประปาปนเปื้อนสิ่งสกปรกโดยไม่รู้ตัว


การตรวจและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

การตรวจเช็คระบบไฟฟ้าบ้าน มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาไฟฟ้ารั่วและเกิดไฟไหม้ ซึ่งหากเจ้าของบ้านหมั่นตรวจเช็คระบบไฟฟ้าในบ้านอย่างดี ให้มีความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยจะสามารถป้องกันอันตรายเหล่านี้ได้

1. มิเตอร์ไฟฟ้า คือ หัวใจของระบบไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้าน เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้นับหน่วยการใช้ไฟฟ้าในบ้าน วิธีตรวจสอบทำได้โดยการตัดไฟทั้งบ้าน แล้วสังเกตว่ามิเตอร์ยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่ก็แสดงว่ามีไฟรั่วต้องแก้ไขทันที

2. ตรวจสอบเมนสวิตช์ ตรวจสอบว่ามีสัตว์ เช่น มดหรือแมลงเข้าไปทำรังหรือไม่ เพราะสัตว์เหล่านี้จะกัดแทะสายไฟจนชำรุดได้ และทำการทดสอบการทำงานของเบรกเกอร์ลูกย่อยว่าสามารถใช้ปลดวงจรไฟฟ้าในบ้านได้หรือไม่ หากพบว่ามีอุปกรณ์ชำรุดให้ทำการเปลี่ยนทันที

3. ตรวจสอบสายไฟฟ้า ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าบ้านจากการเดินสายไฟในตำแหน่งต่าง ๆ ว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่ สายไฟบริเวณใต้หลังคาควรจัดสายไฟอยู่ในท่อร้อยสายไฟ เพื่อป้องกันการกัดแทะจากหนูหรือโดนน้ำจากหลังคารั่ว ส่วนสายไฟบริเวณผนังควรตีกิ๊บจัดเก็บสายไฟเพื่อความเป็นระเบียบ

4. การตรวจสวิตช์ และหลอดไฟ เป็นระบบไฟฟ้าที่ใกล้ชิดกับผู้อยู่อาศัยภายในบ้านมากที่สุดเพราะต้องมีการสัมผัสทุกวัน วิธีการตรวจสอบคือการทดสอบเปิดปิดสวิตช์เพื่อเช็กหลอดไฟทีละดวง และสวิตช์ทุกช่องควรมีหน้ากากครอบปิดสนิท

5. ตรวจสอบปลั๊กไฟ ปลั๊กไฟทุกช่องต้องจ่ายไฟได้เป็นปกติด้วย ซึ่งตรวจสอบการจ่ายไฟด้วยเครื่องมือตรวจระบบไฟรั่วหรือไขควงวัดไฟ ปลั๊กทุกช่องควรมีหน้ากากครอบปิดสนิท

6. การตรวจสายดิน ใช้ไขควงวัดไฟตรวจเช็คระบบไฟฟ้าบ้านบริเวณปลั๊กไฟสาย G หากมีไฟติดหรือวัดแรงดันไฟฟ้าได้ประมาณ 110V แสดงว่าสายดินมีปัญหา นอกจากนี้ให้สังเกตสายดินว่ามีการปริขาด รอยไหม้ หรือมีประกายไฟเกิดขึ้นก็แสดงว่าสายดินมีปัญหาเช่นเดียวกัน

7. เช็คไฟรั่วภายในบ้าน วิธีเช็คไฟรั่วสามารถตรวจสอบได้จากมิเตอร์ไฟฟ้า โดยทำการถอดปลั๊กและปิดไฟอุปกรณ์ทั้งหมดภายในบ้าน หากมิเตอร์มีการหมุนแสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไขควงวัดไฟแตะลงบนอุปกรณ์ที่เสียบปลั๊กไว้ ถ้าหากมีไฟขึ้นแสดงว่าเกิดกระแสไฟรั่ว ควรเรียกช่างเข้ามาตรวจสอบและแก้ไขทันที

 

        จะเห็นว่าวิธีการตรวจสอบดูแลบ้านที่รวบรวมมาแบ่งปันกันนั้น เจ้าของบ้านสามารถทำได้เองไม่ยาก ซึ่งหากพบปัญหาโดยไว จะป้องกันการลุกลามของปัญหา ที่อาจจะนำความสูญเสียต่อทรัพย์สินและชีวิตได้ และหากพบความผิดปกติแล้ว ในการซ่อมบำรุงควรใช้ช่างผู้ชำนาญการ เพื่อให้แก้ไขและปรับปรุงได้ถูกต้อง สำหรับเจ้าของบ้านที่มีความกังวล สามารถขอคำปรึกษาได้ที่ บริษัทรับสร้างบ้าน ที่มีประสบการณ์สร้างบ้านมายาวนาน และมีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้บ้านที่ติดตั้งระบบท่อน้ำและไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังมีบริการหลังการขายคอยดูแลตลอดระยะเวลารับประกันอย่างดีเยี่ยม บ้านสามารถพูดคุยขอข้อมูลให้ครบก่อนที่จะตกลงทำสัญญา สำหรับเจ้าของบ้านที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ไหน

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน HBA ของเรามีบริษัทที่มีคุณภาพได้มาตรฐานไว้มากมาย ซึ่งก็เป็นอีกความน่าเชื่อถือหนึ่งที่เราพร้อมให้เข้ามาพูดคุยสอบถาม ขอข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ

 

 

 

 

สนับสนุนบทความโดย

บริษัท ซีคอน จำกัด

ที่อยู่ : 107-115 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กทม. 10500

โทรศัพท์ : 1391

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เว็บไซต์ : www.seacon.co.th 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154